top of page

CANCER VACCINE

 

 

ภูมิคุ้มกันบำบัด  (Immunocell Therapy) 

 

ในแต่ละวันมีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นมากมายในร่างกายของเรา  แม้ผู้ที่มีสุขภาพดีก็เช่นกัน  แต่ระบบภูมิคุ้มกันอันทรงประสิทธิภาพ  สามารถตรวจพบเซลล์กลายพันธุ์เหล่านี้และทำลายได้อย่างราบคาบ  เราจึงยังคงมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ  อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้  พันธุกรรมและความเครียดไม่ใช่ปัจจัยทั้งหมดที่ทำให้เราต้องเสี่ยงต่อการป่วยเป็นมะเร็ง  แต่สิ่งแวดล้อมที่เลวร้ายลง  ทำให้เราต้องสัมผัสสารก่อมะเร็งมากมายในชีวิตประจำวัน  ในที่สุดร่างกายที่ไม่แข็งแรงพอก็เพลี่ยงพล้ำ  ระบบภูมิคุ้มกันทำงานพลาด   เป็นเหตุให้เซลล์มะเร็งเพิ่มจำนวน  แพร่กระจาย  ขยายขนาดไปตามอวัยวะต่าง ๆ  นั่นหมายความว่าเรากำลังป่วยด้วยโรคโรคมะเร็ง 

 

 ก้อนเนื้อมะเร็งจะถูกตัดออกด้วยการผ่าตัด  แล้วตามด้วยการฉายรังสี  พร้อมทั้งให้ยาคีโม (chemotherapy)  แต่ผลที่ตามมากลับพบว่ามะเร็งมักจะแพร่กระจายไปที่อวัยวะอื่น ๆ หรือกลับมาเป็นซ้ำอีก  หลังได้รับการรักษาด้วยวิธีการดังกล่าว  ซึ่งก็เนื่องมาจากการผ่าตัด  การฉายแสง  และการให้ยาคีโมไม่สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ทั้งหมด   เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลงจึงกลับมาเป็นซ้ำและแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ได้

 

การรักษาโรคมะเร็งด้วยแนวทางเซลล์บำบัด  จึงเกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานสำคัญ ๆ  สองเรื่องคือ  ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันกลับมามีประสิทธิภาพในการต้านโรคได้ดีดังเดิม  และปรับระบบการการรักษาโรคมะเร็ง  แต่ยังคงมีอุปสรรคอยู่บ้างในเรื่องเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเซลล์   และการเหนี่ยวนำให้เปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วิธีการผลิต เซลล์เม็ดเลือดขาวพิฆาต (Win-K cell  Menufacture Method)

 

 

1.  นำเลือดมาจากร่างกายผู้ป่วย

                                              

2.  แยกเม็ดเลือดขาวชนิด Lymphocyte ออกมา

 

3.  เพาะเลี้ยง Lymphocyte และกระตุ้นด้วย Cytokine

 

4.  เพาะเลี้ยงเป็นเวลา 2 สัปดาห์  และเพิ่มจำนวน  T Lymphocyte

 

5.  แยกเฉพาะ Immunecell-LC และทำให้บริสุทธิ์

 

6.  ฉีด Immunecell-LC กลับเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย

 

 

อย่างไรก็ตามการรักษาด้วย “ภูมิคุ้มกันบำบัด” ตามแนวทางของ Green Cross Cell” คือการนำเม็ดเลือดขาวจากเลือดของผู้ป่วยเอง  มาเพาะเลี้ยงเพิ่มจำนวนให้มากขึ้นจากเดิมหลายร้อยเท่า  และกระตุ้นให้กลายเป็นเม็ดเลือดขาวชนิดที่สามารถเข้าทำลายเซลล์มะเร็งโดยเฉพาะ   แล้วจึงฉีดกลับเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยเพื่อไปทำลายเป้าหมายคือเซลล์มะเร็งอย่างแม่นยำ   วิธีนี้จึงให้ผลดีในการรักษาโรคมะเร็งและยับยั้งอาการกำเริบของโรค

 

เนื่องจากการรักษาด้วยแนวทาง “ภูมิคุ้มกันบำบัด”  เป็นวิธีบำบัดโรคโดยใช้ภูมิคุ้มกันของตัวผู้ป่วยเอง จึงทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งดีขึ้นมากในระหว่างการรักษา   ทั้งนี้เพราะผู้ป่วยไม่ต้องพบกับความเจ็บปวดและผลข้างเคียงที่ร้ายแรงของยา 

 

คุณสมบัติของยาต้านมะเร็งด้วยภูมิคุ้มกัน  (Anti-Cancer Immune Cell Drug)”

 

  • ป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำและทำลายเซลล์มะเร็งที่หลงเหลืออยู่อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ไม่สร้างความเจ็บปวดและไม่มีผลข้างเคียงที่ร้ายแรงจากยา

  • สามารถทำไปพร้อม ๆ กับการให้ยาคีโมได้

  • ช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กลุ่มเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันที่เป็นตัวออกฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งใน “ยาต้านมะเร็งด้วยภูมิคุ้มกัน” คือ  T lymphocytes, Cytotoxic T lymphocyte และ  Cytokine induced killer cell

 

สามารถอธิบายกระบวนการต้านเซลล์มะเร็งได้ดังนี้  เริ่มจาก  Antigen-presenting cell คือ เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันที่เมื่อเจอสิ่งแปลกปลอมหรือที่เรียกว่า  antigen (เช่น เชื้อไวรัส   เซลล์มะเร็ง ฯลฯ)แล้ว  จะส่งสัญญาณต่อให้เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด  T lymphocyte  ดังนั้นเมื่อมีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้น Antigen-presenting cell จะจับกับเซลล์มะเร็ง  และค้นหาองค์ประกอบโปรตีนบนผิวเซลล์มะเร็งซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของเซลล์มะเร็ง  หลังจากนั้นข้อมูลนี้จะถูกส่งต่อให้เม็ดเลือดขาวชนิด T Lymphocyte   ทำให้ Lymphocyte อยู่ในสถานะพร้อมออกฤทธิ์ (MHC class I Method)  แล้วจึงเปลี่ยนเป็น  Cytotoxic T lymphocytes  ในขณะเดียวกันสารกระตุ้น  Lymphocyte ก็จะถูกปล่อยออกมาเพื่อกระตุ้นให้เกิดการค้นหาเซลล์มะเร็งต่อไป

Cytotoxic T Lymphocyte ที่ถูกกระตุ้นให้พร้อมทำงาน  จะใช้ข้อมูลที่ได้รับจาก Antigen-presenting cell เพื่อแยกแยะเซลล์มะเร็งออกจากเซลล์ปกติทั่วไป   แล้วทำลายเซลล์มะเร็งโดยการปล่อยเอ็นไซม์ออกมาทำลายผิวเซลล์มะเร็งให้แตกออก   ทำให้เซลล์มะเร็งตายในที่สุด

 

Cytokine เหนี่ยวนำ  Killer Cell (CIK) ให้มีประสิทธิภาพ  และกลายเป็นภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่ง  สามารถค้นหาและฆ่าเซลล์มะเร็งได้  โดยไม่ต้องอาศัยข้อมูลจาก  Antigen-presenting cell  ระบบภูมิคุ้มกันต้านเซลล์มะเร็งของร่างกายประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันสองกลุ่มดังที่กล่าวมานี้  โดยทั้งสองกลุ่มสามารถประสานการทำงานเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งอย่างได้ผล

 

 

ภาพ  Anti-cancer Effects of Immune cells

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เราติดตามดูพฤติกรรมการทำงานของเซลล์ต้านมะเร็ง  พบว่าเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันจะล้อมรอบเซลล์มะเร็ง   แล้วเคลื่อนย้ายเซลล์มะเร็งที่มีรูปร่างยาวจากด้านล่าง  ทำให้เซลล์มะเร็งเปลี่ยนรูปร่างเป็นทรงกลม  และสั้นลง  หลังจากนั้นก็พบว่าเซลล์มะเร็งแตกออก  ทำให้ของเหลวภายในไหลออกมาจากเซลล์และตายในที่สุด

 

เซลล์ใน Anti-cancer Immune Cell Drug มีจำนวนหนึ่งหมื่นล้านเซลล์   โดยได้จากเลือดผู้ป่วยที่มีจำนวนเซลล์เริ่มต้นเพียง  30 ล้านเซลล์  แต่เราไม่เพียงเพิ่มจำนวนเซลล์เท่านั้น  เราได้เปลี่ยนแปลงเซลล์เม็ดเลือดธรรมดาเหล่านั้น  ให้กลายเป็นเซลล์พิฆาตมะเร็งในระบบภูมิคุ้มกัน คือ  Cytokine induced Killer cell และ Cytotoxic T lymphocyte  ซึ่งมีความสามารถค้นหาและทำลายเซลล์มะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพ  รวมทั้งหยุดยั้งการแพร่กระจาย  การกลับมาเป็นซ้ำ  และทำให้ผู้ป่วยรอดชีวิตจากโรคมะเร็งได้มากขึ้น

 

  • ผู้ป่วยควรงดอาหารไขมันสูงเป็นเวลา 3 วันก่อนการเจาะเก็บเลือด

  • ผู้ป่วยควรงดการให้หรือรับเลือดไม่น้อยกว่า 7 วันหรือให้อยู่ภายใต้การพิจารณาของแพทย์

  • ไม่ควรเก็บเลือดผู้ป่วยในขณะที่รักษาหรือหลังการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือรังสีบำบัดน้อยกว่า 1 เดือนหรือให้อยู่ภายใต้กการพิจารณาของแพทย์

  • ไม่ควรเก็บเลือดผู้ป่วยในขณะท่ีผู้ป่วยอยู่ระหว่างการมีไข้ 

 

• สําหรับผู้ป่วยมะเร็ง: ควรให้อย่างน้อย 6 เข็ม ต่อการรักษา และ/หรือ ข้ึนอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ โดยให้ทุก ๆ 2 สัปดาห์

• สําหรับกลุ่มเสี่ยงมะเร็ง: ท่ีมีภูมิคุ้มกันน้อย ควรให้อย่างน้อย 4 เข็ม ต่อการ รักษาและ/หรือข้ึนอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์โดยให้ทกๆ2สัปดาห์

 

  • ระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการฉีดกลับของ Win-K Cells คือ หลังวันที่ 14 - 21 หลังจากวันที่เจาะเก็บเลือด

  • ประสานงานเพื่อขอรับ Win-K Cells โดยโทรแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อนัดวัน-เวลา และ สถานที่ ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน

  • การนำส่ง Win-K Cell จะบรรจุในภาชนะสะอาดปิดฝาที่อุณหภมูิ  20 ๐C

  • ควรฉีดเซลล์กลับภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากนำส่งออกจากห้องปฏิบัติการ

     

 

 

การติดตามผลการรักษา

 

 

• กำหนดตรวจ NK Series ( NK Activity + NK Cell Count ) 3 คร้ัง คือ

 ก่อนการรักษา

 หลัง Treatment คร้ังท่ี 3 ( เก็บเลือดก่อนการให้ Win-K Cell คร้ังที่ 4 )

 หลัง Treatment คร้ังที่ 6

 

 

.

bottom of page