top of page

พิษจากโลหะหนัก

Chelation

         ปัจจุบันพบว่าโลหะหนักที่แม้ว่าจะมีปริมาณในร่างกายเพียงเล็กน้อยในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดพิษ แต่ก็ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อร่างกายหลายประการ เพราะโลหะหนักจะเข้าไปรบกวนการทำงานของแร่ธาตุต่างๆในร่างกาย

  โดยปกติแล้วแร่ธาตุเหล่านี้จะช่วยเร่งปฏิกิริยาการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย เช่น การสร้างพลังงาน การใช้สารอาหารการสร้างฮอร์โมน เป็นต้น    ส่งผลให้ระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายหยุดชะงักไป นอกจากนั้นสารโลหะหนักก็ยังเป็นอันตรายต่อผนังเซลล์ เมื่ออยู่บนผนังเซลล์ทำให้เกิดเสียสมดุลของประจุไฟฟ้า เกิดการทำลายผนังเซลล์ เซลล์จึงถูกทำลาย ก่อให้เกิดความผิดปกติในการแบ่งตัวของเซลล์ มากไปกว่านั้นโลหะหนักต่างๆยังเป็นตัวการก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ ทำให้หลอดเลือดอักเสบ ผนังหลอดเลือดขรุขระ เกิดความไม่เรียบของพื้นผิว ส่งผลให้เกิดหลอดเลือดแข็ง เกิดพลาคหรือเกิดลิ่มเลือดอุดตันตามมา ดังรายงานการศึกษาวิจัยจำนวนมากที่ยกมากล่าวในตอนต้นแล้ว สารโลหะหนักส่งผลต่อกลไกการสร้างไนตริก ออกไซด์ ของหลอดเลือดด้วย ทำให้หลอดเลือดขาดความยืดหยุ่นและหดตัว กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเส้นเลือดตีบตัน และทำให้ความสามารถในการนำสารอาหารไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ในร่างกายน้อยลง ส่งผลให้เกิดความเสื่อมสภาพของอวัยวะในร่างกายอย่างต่อเนื่อง เช่น เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน ออทิสติก โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไตเสื่อม ตาเสื่อม โรคเรื้อรังต่างๆ สารโลหะหนัก ที่สะสมในต่อมหมวกไต ทำให้ต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนลดลง เกิดภาวะต่อมหมวกไตล้า ซึ่งส่งผลให้ร่างกายเสื่อมเร็ว ความเครียดสูง เช่นเดียวกับในต่อมไร้ท่ออื่นๆหากมีสารโลหะหนักสะสมก็จะทำให้สร้างฮอร์โมนต่างๆ ได้ลดลง สารโลหะหนักสะสมยังส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานไม่ตอบสนองต่อยาลดน้ำตาลในเลือด สารโลหะหนักสามารถนำไปสู่ภาวะเสื่อมของระบบประสาท เช่น ความคิด ความจำ และโรคซึมเศร้า เกี่ยวข้องกับการที่กระดูกพรุน ภาวะฮอร์โมนไธรอยด์ต่ำ ความเป็นพิษของโลหะหนักขึ้นอยู่กับรูปแบบทางเคมีของสารประกอบของโลหะหนักแต่ละชนิด และเส้นทางที่ร่างกายได้รับเข้าไป เช่น ทางระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ผิวหนัง เป็นต้น ซึ่งสารพิษเหล่านี้เมื่อสะสมอยู่ในร่างกายจนถึงระดับหนึ่งก็จะแสดงอาการออกมาให้เห็น

 

สารพิษโลหะหนักมาจากไหนบ้าง

 

สารโลหะหนักมักจะปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมและสามารถปนเปื้อนไปยังห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ เช่น ปนเปื้อนอยู่ในอาหารสัตว์ ในพืชผักผลไม้ กุ้ง หอย ปู ปลา มนุษย์รับเอาสารโลหะหนักเข้ามาสู่ร่างกาย ทั้งทางหายใจ การดื่ม การรับประทาน การสัมผัส ทางผิวหนัง สารโลหะหนักสามารถก่อพิษทั้งแบบเฉียบพลัน เมื่อได้รับเข้าไปในปริมาณมากๆ หรือค่อยๆ สะสมเข้าไปในร่างกายทีละน้อยๆ และก่อให้เกิดพิษแบบเรื้อรัง โดยที่เราอาจไม่เคยรู้มาก่อน ว่าเกี่ยวข้องกับการรับสารโลหะหนักเข้ามาทีละน้อย

 

 

 

 

คีเลชั่น คือ อะไร

คือการใช้กรดอะมิโน ชื่อ EDTA ผสมกับวิตามินและแร่ธาติต่างๆ หยดเข้าหลอดเลือด เพื่อประโยชน์ในการรักษา(และเสริมการรักษา)โรคต่างๆ เช่น พิษโลหะหนัก สารพิษอื่นๆ ตกค้าง หลอดเลือดอักเสบ หลอดเลือดตีบตัน โรคภูมิแพ้ โรคปวดข้อ โรคมะเร็ง ฯลฯ



คีเลชั่นทำงานอย่างไร

EDTA จะไปจับกับโลหะหนัก เช่น เหล็ก และ แคลเซี่ยม ซึ่งสะสมพอกอยู่ตามผนังหลอดเลือดให้ไหลเวียนออกมาในกระแสเลือด รวมไปถึงโลหะหนักเป็นพิษที่สะสมอยู่ในเนื้อเยื่อร่างกายด้วย นอกจากนี้ วิตามินและแร่ธาตุ โดยเฉพาะสารต้านอนุมูลอิสระในขนาดที่เรียกว่า Megadose (ขนาดมากพอที่จะส่งผลในการรักษา) ก็จะไปรักษาหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดดีขึ้น เส้นเลือดจะไม่ตีบตัน

EDTA เป็นกรดอะมิโนที่ค้นพบเมื่อปี 1930 โดยชาวเยอรมัน Franz Munz ซึ่งต่อมาได้จดทะเบียนสำหรับเป็นยารักษาภาวะโลหะหนักสะสมในร่างกาย ต่อมาในราวปี 1950 แพทย์สังเกตุพบว่า ผู้ป่วยที่มารักษาภาวะพิษตะกั่วในโลหะด้วย EDTA และมีโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตันอยู่ด้วย กลับมีอาการของโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตันดีขึ้น จึงนำมาสู่การศึกษากว้างขวางและในที่สุด ได้มีการใช้ EDTA Chelation เพื่อการรักษาความผิดปกติของผนังหลอดเลือดด้วย นอกเหนือจากพิษโลหะและพิษสะสม

 


คีเลชั่นช่วยในภาวะไหนบ้าง


จากการศึกษาวิจัย พบประโยชน์ของคีเลชั่นมากมายคือ

 

  • ลดอัตราการเกิดมะเร็งลงได้ 90% (Blumer&Reich 1980)

  • รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้ผล 87-89% (Chappell and Stahl 1993) รักษาโรคการไหลเวียนเลือดส่วนปลายอุดตันได้ผล 91% โดยได้ทำการวิเคราะห์จากงานวิจัย 19 ชิ้นรวมเป็นจำนวนผู้ป่วยในการวิจัย 22,675 คน

  • ผู้ป่วยโรคผิวหนังแข็ง โรคปวดข้อรูมาตอยด์ มีอาการดีขึ้น (Boyle&Clarke)

  • ความดันดีขึ้น เบาหวานดีขึ้น โรคไตดีขึ้น อาการอ่อนเพลียดีขึ้น ไขมันในเลือดลดลง (McDonagh, Rudolph, and Cheraskin)

  • Hancke and Flytlie 1993 สรุปผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่เส้นเลือดอุดตันที่หมอนัดทำ bypass และนัดตัดขาทิ้ง แล้วมาทำคีเลชั่น จำนวน 92 ราย ยกเลิกการผ่าตัดไปได้มากถึง 89%

  • พบว่าคีเลชั่น ทำให้มวลกระดูกหนาขึ้น เชื่อว่าเกิดจากการที่แคลเซี่ยมออกมาในกระแสเลือด จึงไปกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนพาราทัยรอยด์ ซึ่งทำหน้าที่ดึงแคลเซี่ยมที่อยู่ในกระแสเลือดให้เข้าไปสร้างกระดูก

 

 

ใครควรจะทำคีเลชั่น

 

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการอุดตันของหลอดเลือด เช่น อุดฟันด้วยโลหะอมัลกัม มีไขมันในเส้นเลือดสูง มี oxidative stress(ระดับอนุมูลอิสระสูง) เช่น ดื่มชา กาแฟ แอลกอฮอล์ สูบบุหรี่หรือคนในบ้านในที่ทำงานสูบ ฯลฯ

  • ผู้ที่มีปัญหาพิษโลหะสะสม และปัญหาสารพิษอื่นๆ สะสมในร่างกาย

  • ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ การไหลเวียนเลือดบกพร่อง มีอาการเช่น เวียนหัวง่าย ฯลฯ

  • ผู้ที่มีปัญหาโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากหลอดเลือดไม่ยืดหยุ่น

  • ผู้ที่แข็งแรงดี แต่ต้องการป้องกันตนเองจากโรคมะเร็ง และโรคเส้นเลือดตีบตัน รวมทั้งต้องการกำจัดสารพิษและโลหะหนักออกจากตัว และต้องการรักษาสภาพของเส้นเลือดทั่วตัว ไม่ให้เกิดการอุดตันในอนาคต

  • ผู้ที่ไปทำบอลลูนเส้นเลือด,ใส่ขดลวด,ทำบายพาส มาแล้ว เพราะจะเกิดการอุดตันใหม่เร็ว ๆ นี้ การทำคีเลชั่น จะป้องกันปัญหาเหล่านั้นได้

 

 

ระหว่างการทำคีเลชั่นควรปฏิบัติตัวอย่างไร

 

  • ระหว่างที่ร่างกายกำจัดสารพิษ และลดโลหะหนักสะสม ไตจะทำงานเพิ่มขึ้น ควรดื่มน้ำสะอาดเพิ่มขึ้น และถ้าเป็นไปได้ ใช้น้ำดื่มที่มีขนาดโมเลกุลน้อยประเภท activated water หรือ energized water ต่าง ๆ

  • ควรรับประทานวิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ ในรูปอาหารเสริม เพิ่มขึ้นไปจากอาหารประจำวัน เพราะบางทีเราจะเสียแร่ธาตุไปบ้างในระหว่างการคีเลชั่น

bottom of page